Lecture

การออกแบบหน้าเว็บ
การออกแบบหน้าเว็บ
                หน้าเว็บหน้าแรกเป็นส่วนที่สำคัญเพราะมีหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลและระบบงานของเว็บนั้นได้
หลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บ
                คือ การใช้รูปภาพและองค์ประกอบต่างๆร่วมกัน เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
แนวคิดในการออกแบบหน้าเว็บ
-                   เรียนรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ (สิ่งที่ได้คือรูปแบบและเทคนิคใหม่ๆ)
-                   ประยุกต์รูปแบบจากสิ่งพิมพ์
-                   ใช้แบบจำลองเปรียบเทียบ (Metaphor)
-                   ออกแบบอย่างสร้างสรรค์
หลักการออกแบบหน้าเว็บ
1.              สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ (Visual Hierarchy)
-2.                             2.                สร้างรูปแบบ บุคลิกและสไตล์
3.              สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์
4.              จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ
5.              สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
6.              จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย
7.              ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม
เข้าใจลักษณะการใช้งานของเว็บ
มี 2แนวทาง
1.             การใช้สื่อโดยตรงให้อ่านบนหน้าจอ
2.             การใช้เป็นสื่อกลางในการพิมพ์ข้อมูลลงในหน้ากระดาษเพื่อเก็บรวบรวมหรืออ่านในภายหลัง
-                   หน้าจอ ควรมีขนาดกะทัดรัดไม่ยืดยาวหรือใช้กราฟิกมากเกินไป
-                   พิมพ์ ควรออกแบบให้มีการใช้ประโยชน์ของเนื้อที่อย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เปลืองกระดาษ
ออกแบบหน้าเว็บให้มีความยาวเหมาะสม
ทำให้ดูน่าอ่าน ง่ายต่อการจัดการหน้าเหล่านั้น
โดยทั่วไปควรสร้างเว็บขนาดสั้นสำหรับ
1.             หน้าโฮมเพจหรือหน้าที่เป็นแหล่งรวมลิงค์จำนวนมาก
2.             หน้าเว็บที่คาดว่าจะถูกอ่านบนหน้าจอ
3.             หน้าเว็บที่มีกราฟิกขนาดใหญ่มาก
เลือกใช้เว็บขนาดยาวเพื่อ
1.             ความสะดวกในการพิมพ์หรือดาวน์โหลด
2.             ความสะดวกในการจัดการกับจำนวนไฟล์และลิงค์ที่น้อยลง
3.             โครงสร้างของเนื้อหาจะได้ไม่ถูกตัดแบ่งออกจากกัน
ออกแบบหน้าเว็บสำหรับการพิมพ์
1.             แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ ส่วนละประมาณ 2-3หน้าจอ เพื่อนำไปสร้างเป็นหน้าเว็บ พร้อมกับสร้างลิงค์เชื่อมโยงเว็บทั้งหมดเข้าด้วยกัน
2.             สร้างลิงค์จากหน้าเว็บที่ได้ในขั้นแรกไปยังอีกเว็บหนึ่งที่รวมเนื้อหาทั้งหมดไว้ในไฟล์เดียวกัน
รูปแบบโครงสร้างหน้าเว็บ
แบ่งเป็น 4 รูปแบบดังนี้
1.              โครงสร้างหน้าเว็บในแนวตั้ง
2.              โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอน
3.              โครงสร้างหน้าเว็บที่พอดีกับหน้าจอ
4.              โครงสร้างหน้าเว็บแบบสร้างสรรค์
รูปแบบโครงสร้างหน้าเว็บ
ต้องมีความเหมาะสมกับปริมาณเนื้อหาและลักษณะของเว็บ
ส่วนประกอบของหน้าเว็บ
แบ่งเป็น 3 ส่วน
1.              ส่วนหัว (Page Header)
2.              ส่วนเนื้อหา (Page Body)
3.              ส่วนท้าย (Page Footer)
เทคนิคการจัดโครงสร้างของหน้า
จัดโครงสร้างของหน้าโดยใช้ตาราง หากไม่มีการใช้ตารางมาช่วยจัดโครงสร้างในหน้าเว็บ ตัวอักษรและกราฟิกทั้งหมดก็จัดเรียงติดกันทั่วทั้งหน้าอย่างไม่เป็นสัดส่วน
ออกแบบหน้าโฮมเพจ (Home Page)
                โฮมเพจที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1.             แสดงถึงความรวมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ในเว็บ
2.             ดูน่าสนใจและมีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
3.             มรลิงค์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ส่วนหลักๆของเว็บ
4.             แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้รูปกราฟิกอย่างจำกัด
5.             แสดงถึงเอกลักษณ์ของเว็บด้วยการแสดงชื่อเว็บ
6.             แสดงถึงสิ่งที่ปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาภายใน
7.             แสดงวันที่ปัจจุบัน
8.             เปลี่ยนแปลงรูปกราฟิกเป็นประจำทุกวัน สัปดาห์ หรือเดือน
9.             แสดงข่าวหรือข้อมูลการเคลื่อนไหวใหม่ๆให้ผู้ใช้ได้รับรู้ในหน้าแรก
10.      สร้างส่วนของเนื้อหาที่แสดงถึงสิ่งใหม่ๆในเว็บ
หน้าก่อนโฮมเพจ
                เรียกว่า “Splash page” ทำหน้าที่แนะนำหรือสื่อข้อความบางอย่างของเว็บเพื่อสร้างความประทับใจของผู้ใช้
ข้อแนะนำในการออกแบบโฮมเพจ
1.             ออกแบบโครงสร้างของหน้าโดยใช้กราฟิก
2.             กำหนดชื่อของเว็บให้สื่อความหมาย
3.             สร้างความแตกต่างของสิ่งที่แตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน
4.             เลือกใช้พื้นหลังที่เหมาะสม
5.             หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
6.             อย่าใช้ภาพเคลื่อนไหวมากจนเกิน





การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
·       เบราเซอร์ที่ใช้
คือ โปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ สามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร , รูปภาพ และความเคลื่อนไหว มรเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยม เช่น
§  Internet Explorer
§  Netscape Navigator
§  Opera
§  Mozilla
§  Firefox
·       ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์ จะมีความแตกต่างในเรื่องชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ , ระดับความละเอียดของหน้าจอ , ชุดสีของระบบ และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ
·       ความละเอียดของหน้าจอ
-                   ขนาดของหน้าจอมอนิเตอร์มีหลายขนาด เช่น 15”,17”,21” และอื่นๆ
-                   ความละเอียดของหน้าจอ(monitor resolution) มีหน่วยเป็นพิกเซล
-                   ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
·       จำนวนสีของจอที่ผู้ใช้สามารถแสดงได้
§  มอนิเตอร์สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ(video card)
§  จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอ(video memory)ที่มากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
§  จำนวนสีที่การ์ดจอแสดงขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล
·       ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
เบราเซอร์จะแสดงฟอนต์ที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก็ต่อเมื่อ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะมีฟอนต์เหล่านั้นติดตั้งอยู่เครื่อง
§  MS Sans Serif  เป็นฟอนต์แบบบิตแมพ(bitmapped font)ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป้นขนาดที่แน่นอน
§  Microsoft Sans Serif เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวกเตอร์หรือลายเส้น(vector font) โดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียว แต่สามารถปรับได้อย่างไม่จำกัด
§  ตัวอักษรแบบกราฟิก(Graphic Text)
·       ข้อดี
-                   สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอน ทั้งชนิด ขนาดสี
-                   ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นตัวอักษรได้เหมือนกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิดนั้นติดตั้งไว้บนเครื่อง
-                   สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
·       ข้อเสีย
-                   ใช้เวลาในการ download มากกว่า
-                   ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
-                   ข้อความที่เป็นกราฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วย search engine
·       ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลของเว็บ
·       ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
§  ออกแบบเว็บเพจให้เปลี่ยนแปลงขนาดได้(Flexible Design)
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าต่างเบราเซอร์ องค์ประกอบทั้งหมดจะมีการจัดเรียงตัวกันใหม่ตามขนาดพื้นที่ใหม่
v ข้อดี
§  พื้นที่หน้าจอทั้งหมดถูกใช้อย่างเต็มที่
§  เว็บเพจจะถูกจัดเรียงในรูปแบบที่เหมาะสมกับหน้าจอเสมอ


v ข้อเสีย
§  ไม่สามารถคาดการณ์รูปแบบที่จะปรากฏต่อสายตาผู้ชมได้
§  มีการจัดรูปแบบใหม่ จึงทำให้เสียรูปแบบหน้าจอที่ออกแบบไว้เดิม
·       ออกแบบเว็บเพจให้มีขนาดคงที่(Fixed Design)
เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมโครงสร้างของหน้าเว็บให้คงที่เสมอ
v ข้อดี
§  เว็บเพจจะปรากฏต่อสายตาผู้ใช้เป็นรูปแบบเดียวกันเสมอ
§  สามารถควบคุมความยาวของตัวอักษรในบรรทัดได้ดี ทำให้ตัวอักษรไม่ยาวจนเกินไปในหน้าจอที่มีขนาดใหญ่มาก
v ข้อเสีย
§  ต้องอาศัย scroll bar ในการเลื่อนดูข้อมูล
·       ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี
§  นอกเหนือจากค่าแกมม่าที่มีผลต่อความสว่างของหน้าจอแล้ว ตัวผู้ใช้สามารถปรับระดับความสว่าง(Brightness)และค่าความต่างของโทนสี(Contrast)จากจอมอนิเตอร์ได้
§  ผู้ออกเว็บจะต้องระวังไม่ให้หน้าเว็บมีโทนสีมืดหรือสว่างจนเกินไป และควรเลือกใช้โทนสีที่ต่างกันพอสมควร





ออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์

กราฟิกเป็นองค์ประกอบสำคัญ ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้กับเว็บไซต์น่าดูยิ่งขึ้น
·       GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
-                   มีนามสกุล .gif
-                   ได้รับความนิยมในยุคแรก
-                   ไม่ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการใดๆ
-                   เป็นกราฟิกประเภทเดียวที่สามารถนำไปใช้กับบราวเซอร์ทุกชนิด
-                   มีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว
-                   มีระบบสีแบบ Index มีขอมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256 สี
-                   คุณสมบัติ Interlacing คือการบันทึกไฟล์ GIF เป็น 4 ระดับ คือที่คุณภาพ 12.5%,25%,50%และ100%ตามลำดับ
-                   มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวพิกเซล  แบบไม่สูญเสีย(Lossless) เหมาะสำหรับกราฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
·       JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Group
-                   มีนามสกุล .jpg หรือ .jpeg
-                   ไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการใดๆ สามารถใช้ได้กับบราว์เซอร์ Netscape และ IE version2 เป็นต้นไป
-                   มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
-                   ใช้ระบบบีบอัดที่มีลักษณะสูญเสีย (lossy) แบบ JFIF (JPEG File interchange format)
-                   สามารถบีบอัดข้อมูลในอัตราสูงตั้งแต่ 10:1 ถึง 20:1
-                   นำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
·       PNG ย่อมาจาก Portable Network Group
-                   สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต
-                   มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ทำไม่ให้เกิดความสูญเสีย (lossless)
-                   มีระบบการควบคุมแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส (Transparency) ในตัวเอง
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์ คือหน่วยพิกเซล
ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
-                   ใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
-                   แต่ในการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
-                   ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว
โปรแกรมกราฟิกสำหรับเว็บ
-                   ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทที่นำมาใช้ในการสร้างกราฟิกสำหรับเว็บ
·       Adobe Photoshop
·       Adobe ImageReady
·       Firework
-                   ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ รูปแบบไฟล์,ชุดสีที่ใช้,จำนวนสี,ระดับความสูญเสีย,ความโปร่งใส และสี
พื้นหลัง


qrcode